top of page

เพื่อช่วยทำให้ผู้ชม จะได้นำลองไปหัดทำ หรือ นำไปประกอบอาชีพได้ โดยไม่ได้จัดทำเพื่อผลทางการค้า หรือ ผลประโยชน์ อื่นใด

เครดิค ในการจัดทำเป็นของผู้มีสวนทั้งโดยตรง และ โดยอ้อม และทั้งที่ได้ระบุนามไปแล้ว หรือ ผู้ที่ไม่สามารถระบุนามได้ (ที่ต้องขออภัยที่ไม่มีโอกาสทราบเลย)

ตอนที่ 5 " สูตรกล้วยแขกแบบปักษ์ใต้ "


ส่วนผสมพร้อม

- แป้งข้าวเจ้า 7 ขีด

- แป้งสาลี 3 ขีด

- น้ำปูนใส 1 ถ้วยตวง

- น้ำเปล่า 4 ถ้วยตวง

- น้ำตาลทราย 1 ขีด

- เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ

- มะพร้าวขูด 1 กิโลกรัม

- งาขาว 3 ช้อนโต๊ะ

- ไข่ไก่ 3 ฟอง

- กล้วยน้ำว้าห่าม 4 หวี

- ใบเตยหอม

- น้ำมันพืช (สำหรับทอด) 2 กิโลกรัม

วิธีทำ

1. นำแป้งข้าวเจ้า และแป้งสาลี ผสมกัน ใส่น้ำปูนใสและค่อยๆเติมน้ำ นวดให้แป้งเข้ากัน ตามด้วยน้ำตาล ไข่ งา และเกลือ ลงไปนวดต่อ ปิดท้ายให้ใส่มะพร้าวขูดลงไป นวดขยำ จนน้ำกะทิออกนิดๆ พักไว้ (ถ้าแป้งข้นไปเติมน้ำเปล่าได้อีกเล็กน้อย...ระดับความเหลวของแป้งดูว่าให้พอชุบกล้วยได้)

2. ปอกเปลือกกล้วยไปฝานไป (3-4 ชิ้นต่อลูก)...ฝานลงไปในหม้อแป้ง กะให้พอดี 1 กระทะ ไม่ต้องให้เหลือ (พอกระทะต่อไปก็ฝานใหม่ ถ้าฝานเหลือจะทำให้ชุบแป้งยาก...กล้วยจะไปกองอยู่ในแป้ง)

3. กล้วยชุบแป้งให้ทั่วชิ้น ทั้งด้านหน้า ด้านหลัง ...หย่อนลงไปในกระทะทอดในน้ำมันพืชร้อนไฟปานกลางค่อนข้างแรง (ใส่ใบเตยลงไปทอดในน้ำมันด้วยนะ)ทอดไปสักครู่กล้วยที่จมจะลอยขึ้นมาให้ลดระดับไฟลงมาเล็กน้อย และใช้ไม้เขี่ยไม่ให้กล้วยติดหรือซ้อนกัน จนกล้วยเริ่มเหลืองให้กลับด้าน เมื่อเหลืองกรอบทั้งสองด้านให้ตักขึ้นพักไว้บนตะแกรงให้สะเด็ดน้ำมันดี

4. รับประทานร้อนๆ...หรอยจังฮู้

เคล็ดลับจากแม่...

- เรื่องของแป้งนั้น ตามสูตรกล้วยทอดพื้นบ้านจะไม่ใส่แป้งสาลี (การผสมแป้งสาลีทำให้กรอบนุ่มไม่แข็งกระด้างมากนัก แต่ในชนบทหาซื้อยาก) มักจะใช้แป้งข้าวเจ้าเพียงอย่างเดียว แต่ระยะหลังนี้ประยุกต์ผสมแป้งชนิดอื่นๆ อย่างเช่นสูตรของป้าเขียว....จะใส่แป้งข้าวเจ้า 1 กิโลกรัม ผสมกับแป้งกรอบ ½ กิโลกรัม (กรณีไม่ได้ใส่แป้งสาลี ให้เพิ่มแป้งข้าวเจ้าเป็น 1 กิโลกรัม)

- การใส่ไข่ไก่ อาจกล่าวได้ว่าเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของกล้วยทอดสูตรนี้

- ช่วงที่ทอดกล้วยยังไม่ทันหมด แป้งอาจจะแห้งเกินไปก็ให้เพิ่มน้ำลงไปได้

- กล้วยน้ำว้าเลือกที่สุกแบบห่ามๆ เปลือกเขียวออกเหลืองนิดๆ สุกเหลืองมากจะเละ จะต้องหากล้วยที่พอดี ซึ่งจะต้องบริหารจัดการกล้วยให้ได้ เพราะกล้วยเมื่อเลยวันที่ทอดได้ก็จะสุก ช่วงที่ทอดได้ดีมีอยู่ประมาณ 2-3 วันเท่านั้น

Cr. ขอบคุณเจ้าของสูตรสูตรแม่ถิ้ง-พริ้มพร้อม พงศาปาน

Cr. ข้อมูลแหล่งที่มา kasetkaoklai.com

ขอบคุณภาพและ Cr : Narinsita Sangthong

รายการที่แสดง
รายการที่แสดงล่าสุด
สาระสำคัญ
ค้นหา โดย  Tags
ติดตา
  • Facebook Social Icon
  • Twitter Social Icon
  • Google+ Social Icon
bottom of page